สารบัญ (TOC) ของ วิธีใช้:ส่วน

การซ่อนสารบัญ

สำหรับหน้าที่มีพาดหัวอย่างน้อย 4 พาดหัวจะมีสารบัญปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ยกเว้นใส่เมจิกเวิร์ด __NOTOC__ (ใส่เครื่องหมายขีดเส้นใต้สองครั้งขนาบข้างคำ) ลงในข้อความวิกิของบทความ เป็นกฏทั่วไปว่าให้ใช้ เฉพาะกับบทความที่ (ก) มีพาดหัวตั้งแต่ 4 พาดหัวขึ้นไป และ (ข) พออยู่ในจอภาพเดียว

การจัดตำแหน่งสารบัญ

เมื่อใส่รหัส __FORCETOC__ หรือ __TOC__ (ใส่เครื่องหมายขีดเส้นใต้สองครั้งขนาบข้างคำ) ลงในข้อความวิกิ สารบัญจะปรากฏแม้หน้ามีพาดหัวไม่ถึง 4 พาดหัว

การใช้ __FORCETOC__ จะวางตำแหน่งสารบัญไว้ก่อนพาดหัวส่วนแรก การใช้ __TOC__ จะวางตำแหน่งของสารบัญในตำแหน่งเดียวกับรหัสนี้

บทความส่วนมากมีข้อความบทนำก่อนถึงสารบัญ เรียกว่า "ส่วนนำ" แม้ปกติพาดหัวส่วนควรต่อท้ายสารบัญทันที แต่การใช้ __TOC__ ช่วยป้องกันไม่ให้คุณต้องใส่พาดหัวที่ไร้ความหมายเพื่อให้วางตำแหน่งสารบัญได้ถูกต้อง (คือ ไม่อยู่ด้านล่างของหน้ามากเกินไป) ทว่าหากมีข้อความใด ๆ อยู่ระหว่างสารบัญและพาดหัวแรก จะก่อให้เกิดปัญหาอ่านไม่สะดวก

การทำให้สารบัญลอย

ในบางกรณีสารบัญสามารถจัดชิดขวาหรือซ้ายได้โดยใช้ {{TOC right}} หรือ {{TOC left}} เมื่อมีประโยชน์ต่อการวางผังบทความ หรือเมื่อสารบัญโดยปริยายไปกีดขวางส่วนย่อยอื่น ก่อนเปลี่ยนสารบัญโดยปริยายให้เป็นสารบัญลอย ให้ลองพิจารณาตามแนวทางดังนี้ก่อน

  1. ถ้าจัดสารบัญลอย ควรวางไว้ ณ จุดสิ้นส่วนส่วนนำของข้อความก่อนถึงพาดหัวส่วนแรก ผู้ใช้โปรแกรมอ่านออกเสียงจอภาพ (screen reader) ไม่คาดหมายข้อความใด ๆ ระหว่างสารบัญและพาดหัวแรก อีกทั้งการไม่มีข้อความเหนือสารบัญก็น่าสับสน
  2. เมื่อจัดสารบัญลอย ให้ตรวจสอบดูว่าผังของหน้าจะถูกรบกวนหรือไม่หากผู้ใช้เลือกซ่อนสารบัญ
  3. รายการยาวอาจสร้างสารบัญที่ยาวมาก สารบัญไม่ควรยาวเกินจำเป็นไม่ว่าจัดลอยหรือไม่ก็ตาม สามารถใช้ {{TOC limit}} เพื่อลดความยาวของสารบัญโดยซ่อนส่วนย่อยซ้อนใน แทนการใช้สารบัญลอย
  4. สารบัญโดยปริยายวางไว้ก่อนพาดหัวแรก แต่อยู่หลังข้อความบทนำ ถ้าความย่อบทนำมีความยาวเพียงพอให้ผู้ใช้ทั่วไปเลื่อนลงมาเห็นส่วนบนสุดของสารบัญ คุณอาจจัดสารบัญลอยเพื่อให้สารบัญปรากฏอยู่ใกล้ส่วนบนสุดของบทความมากขึ้น ทว่า ในกรณีส่วนใหญ่สารบัญลอยควรอยู่ท้ายข้อความบทความย่อหน้าแรก
  5. การจัดลอยสารบัญกว้างจะทำให้มีข้อความอ่านได้เป็นแนวตั้งแคบ ๆ สำหรับผู้ใช้ความละเอียดต่ำ ถ้าความกว้างของสารบัญเกิน 30% ของจอภาพที่อ่านได้ของผู้ใช้ (ประมาณสองเท่าของขนาดแถบนำทางวิกิพีเดียทางซ้ายมือ) ก็ไม่เหมาะสมสำหรับจัดลอย ถ้าข้อความถูกหนีบไว้ระหว่างสารบัญลอยและภาพ สามารถยกเลิกการจัดลอยได้ ณ จุดข้อความหนึ่ง ๆ
  6. ถ้าสารบัญถูกจัดอยู่ใกล้เคียงกับภาพหรือกล่องที่จัดลอยอื่น สารบัญยังสามารถจัดลอยได้ตราบเท่าที่แนวตั้งข้อความที่ต่อเนื่องอยู่นั้นไม่แคบเกิน 30% ของความกว้างจอภาพที่เห็นได้ของผู้ใช้ทั่วไป
  7. สารบัญที่จัดลอยซ้ายอาจกระทบต่อรายการที่มีจุดหรือเลขนำ

การจำจัดความกว้างของสารบัญ

อาจมีเหตุขัดข้องทำให้ต้องจำกัดความกว้างของสารบัญเป็นร้อยละของหน้า ให้ใช้แม่แบบดังนี้ {{TOC left|width=30%}} (width=ความกว้างของหน้า)

การจำกัดความลึกของสารบัญ

สารบัญโดยปริยายจะรวบรวมพาดหัวทั้งหมดในหน้าไม่ว่าระดับใดก็ตาม เมื่อบทความหรือหน้าโครงการหนึ่งมีจำนวนส่วนย่อยมาก อาจเป็นการเหมาะสมที่จะซ่อนส่วนย่อยระดับล่างจากสารบัญ คุณสามารถเจาะจงขีดจำกัดสำหรับส่วนระดับต่ำสุดที่ควรแสดงได้โดยใช้ {{TOC limit|n}}, โดยที่ n เป็นจำนวนของสัญลักษณ์ = ที่ใช้ขนาบพาดหัวส่วนระดับต่ำสุดที่ควรแสดง (เช่น 3 เพื่อแสดง ===ส่วนย่อย=== แต่ซ่อน ====ส่วนย่อยของส่วนย่อย====) ตัวแปรเสริม limit=n ยังสามารถเติมให้ {{TOC left}} หรือ {{TOC right}} ในทำนองเดียวกัน

การเชื่อมโยงไปสารบัญ

สารบัญก่อกำเนิดอัตโนมัติด้วยเอชทีเอ็มแอล id="toc" คุณสามารถสร้างลิงก์ไปสารบัญด้วย [[#toc]] ดังนี้

  • หน้าเดียวกัน:
  • คนละหน้า:
    • รหัสวิกิ: [[วิธีใช้:การจัดรูปแบบวิกิ#toc|สารบัญ]]
    • ลิงก์: สารบัญ

การแทนสารบัญโดยปริยาย

สารบัญก่อกำเนิดอัตโนมัติไม่ได้เหมาะสมหรือมีประโยชน์ในบทความทุกประเภท เช่น บทความรายการหรืออภิธานศัพท์ยาว ๆ ฉะนั้นจึงมีแม่แบบทดแทนใช้ ถ้าต้องการใช้แม่แบบทดแทนดังกล่าว ให้ใส่ __NOTOC__ ไว้ในบทความ และใส่แม่แบบสารบัญทางเลือก เช่น {{Compact ToC}} (ซึ่งสามารถปรับแต่งได้หลายลีลารายการ) ในที่ที่ต้องการ

สารบัญแนวนอน

แม่แบบ {{Horizontal TOC}} จะจัดสารบัญให้เป็นรายการแนวนอนแทนแนวตั้ง ซึ่งมีประโยชน์ในสารบัญที่มีรายการสั้น ๆ จำนวนมาก ความสามารถในการแสดงสารบัญยาว ๆ โดยไม่ต้องเลื่อนขึ้นลงทำให้เหมาะกับตารางซึ่งแถวตารางมีพาดหัวส่วน

ดูตัวอย่างการใช้ใน Legality of cannabis (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)

ใกล้เคียง

วิธีใช้ วิธีกงดอร์แซ วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ วิธีการเข้าถึงหลายช่องทาง วิธีการครอส-เอนโทรปี วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด วิธีโดนต์ วิธีเหลือเศษสูงสุด วิธีเดลฟาย วิธีเว็บสเตอร์/แซ็งต์-ลากูว์